รายละเอียด "วิธีการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน"

(อ่าน 4769/ ตอบ 2)

Surat J.

 

ฉนวน กันความร้อนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการกันความร้อน และความสะดวกในการใช้แตกต่างกันไป จึงควรปรึกษาผู้ขายก่อนเลือกใช้ แต่ทุกชนิดสามารถใช้ร่วมกับแผ่นหลังคาได้ ดังแสดงต่อไปนี้



         โลหะจะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าวัสดุอื่น ดังนั้นจึงดูดซับความร้อนไว้น้อย จึงแผ่ความร้อนเข้ามาใน

อาคารได้มากกว่า อย่างไรก็ดี หากต้องการลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ก็อาจใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนร่วม

กับแผ่นหลังคาได้ อีกทั้งการใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนที่สามารถเลือกใช้ได้มีหลายชนิด ดังนี้


1. ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

          Microfiber เป็นฉนวนใยแก้วที่ผลิตตามมาตรฐาน  มอก.486,มอก.487 มาตรฐานสากล  ASTM และ

์NFPA 90A (National Fire Protection Association,INC.)เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในงานอาคาร

อนุรักษ์พลังงานของสหรัฐอเมริกา ขึ้นรูปเป็นแบบม้วนมีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ยืดหยุ่นและคืนตัวได้ดี ปิดผิวหน้าด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์กันความชื้นชนิดเสริมแรง จากโรงงาน     เลือกใช้วัตถุปิดผิวที่มีคุณสมบัติได้ตามมาตรฐานสากล   เช่น    ASTM  (American  Society  for Testing  and  Materials)  ,  UL  (Safty  Standard Underwriters Laboratories) และ BS (British Standard)Microfiber ติดวัสดุปิดผิวด้วยเครื่องจักรทันสมัยจากโรงงาน จึงติดแน่นกับเนื้อฉนวน ไม่ เลื่อนหลุดง่าย คงทน ติดตั้งได้สะดวก และสวยงาม


          ฉนวนใยแก้ว   มีให้เลือกหลายชนิด   ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ออกแบบ  เช่น  ชนิดปิดผิวหน้าด้วย

อลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน 2 ด้าน หุ้มห่อตลอดทั้งม้วน ชนิดติดด้วยฟอยล์ขาวและฟอยล์ดำ เป็นต้น

ประโยชน์การใช้งาน


          เป็นฉนวนที่ออกแบบสำหรับงานหลังคาและผนังของอาคาร สำนักงาน โรงงานและที่พักอาศัยทั้งเก่าและใหม่ ใช้กับหลังคาเหล็กรีดลอน หลังคากระเบื้อง หลังคาคอนกรีต ฯลฯ เืพื่อการกันความร้อนและดูดซับเสียง


        - มีค่าการนำความร้อนต่ำจึงมีประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนสูง ทำให้สามารถลดปริมาณความร้อน

ที่เข้าสู่อาคารได้มากในบริเวณที่มีการติดตั้งฉนวน


        - มีคุณสมบัติในการกันเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น  เวลาฝนตกกระทบหลังคาและเสียงที่เกิดในอาคารไม่ให้เสียงรบกวนคนภายใน

        - ป้องกันความชื้นสูงและเลือกใช้ความหนาที่เหมาะสม   จะไม่ให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำจากความแตกต่างของอุณหภูมิของอาคารปรับอากาศ

        - มีค่าการต้านทานความร้อนสูง ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของอาคารและโรงงานที่มีเครื่องปรับอากาศ

        - มีค่าความยืดหยุ่นดีเมื่อถูกกดทับสามารถคืนตัวได้เร็ว   มีความหนาสม่ำเสมอเสมอได้มาตรฐาน   จึงไม่ สูญเสียคุณสมบัติความเป็นฉนวน

        - มีน้ำหนักเบา ทนทานแต่แรงดึง  ไม่ฉีกขาดง่าย  คืนตัวได้ดีเมื่อได้รับแรงกด จึงสะดวกต่อการติดตั้งกับวัสดุหลังคาทุกประเภท ทั้งหลังคาเก่าและหลังคาใหม่

        - เป็นวัสดุที่ไม่เสื่้อมสภาพ ไม่เป็นอาหารของสัตว์ แมลงและเชื้อรา จึงคงความเป็นฉนวนได้ยาวนาน


 2. ฉนวนสะท้อนความร้อน (Polynum Insulation Material)

        Polynum คือ ฉนวนกันความร้อนซึ่งประกอบด้วยชั้นต่างๆ  3 ชั้น ได้แก่ ชั้นนอกทั้ง   2  ด้านประกอบด้วย  อลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์  สามารถสะท้อนความร้อนได้ถึง  97% แต่ละชั้นผสานกันและเพิ่มความแข็งแกร่งด้วยฟอง อากาศโพลีเอเธอลีน

        - ป้องกันความร้อนผ่านเข้ามาภายในอาคารได้เป็นอย่างดี

        - ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ, ลดค่าไฟฟ้า

        - ไม่เป็นฝุ่นและไม่มีสารพิษจึงปลอดภัยและเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย

        - สวยงาม,แข็งแรง,ทนทาน, อายุการใช้้งานนาน
         จากการวิจัยพบว่า 80%  ของพลังงานความร้อนจะถูกส่งผ่านอาคารทางหลังคา อีกประมาณ 90% ของ

พลังงานความร้อนจะส่งผ่านโดยการแผ่รังสี ฉนวนความร้อน Polynum ออกแบบโดยเฉพาะในการป้องกันการ

แผ่รังสีมีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัวสามารถป้องกันความร้อนจากการแผ่รังสีได้ถึง 97%ฉนวนสะท้อนความร้อน Polynum จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศร้อนชื้น  เช่น ประเทศไทยช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 60%

           Polynum เหมาะสำหรับใช้งานในโครงการทุกประเภท เช่น โรงงาน, นิคมอุตสาหกรรม, โกดังสินค้า,

โรงเรียน, บ้านพักอาศัย, ศูนย์กีฬา ฯลฯ    สามารถติดตั้งได้ทั้งหลังคาเหล็ก, หลังคากระเบื้อง, หลังคาคอนกรีต,

ผนังและอื่นๆ




 3. แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

          -  ชั้นเคลือบอลูมิเนียมถูกทำให้หนาขึ้น เืพื่อ ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV และในขณะเดียวกัน วัสดุและความขุ่นของแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์โดยธรรมชาตินั้น  จะป้องกันการถูก ทำลายจากรังสี UV อีกทั้งชั้นเคลือบฟิล์มที่มีความทนทานเิพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้ไอน้ำซึมผ่าน เข้าไปได้น้อยลงอีกด้วย

           - โมเลกุลขนาดใหญของโพลีเมอร์ที่ถูกเพิ่มเข้าไปในโครงสร้าง  จะช่วยส่งผลดีต่อการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์

           - อลูมิเนียมฟอลย์จะมีความเหนียวซึ่งทำให้สามารถติดตั้งได้ง่ายเนื่องจาก สามารถดึงลากได้และง่ายต่อกาติดตั้งกับพื้นผิวที่มีความบางเรียบ

           - กระบวนการเคลือบแบบใหม่ทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นผิวของโลหะจะเรียบเป็นแบนลดการหลุดลอกซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ   




4. แผ่นโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene)


เป็นผลิตภัณฑ์จากพลาสติกสังเคราะห์โพลีเอทิลิน (Polyethylene)  ชนิดความหนาแน่นต่ำ LDPE ย่อ

มาจาก (low Density Polyethylene) มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงช่วยป้องกัน

และสะท้อนความร้อน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

          - โครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Close Cell) มีฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมาก   อยู่ภายในเนื้อฉนวนเกาะกันเหนียวแน่น และฟองอากาศที่อยู่ภายในจะเป็นตัวป้องกันความร้อนไม่ใ้ห้ส่งผ่านได้อย่าง สมบูรณ์

          - ค่าการนำความร้อน (K-Value) อยู่ที่ 0.03 W/mk ซึ่งเป็นค่าการนำความร้อนที่ตำกว่าฉนวนชนิดอื่นๆ

          - ค่าต้านทานการซึมผ่านไอน้ำ (Water Vapor Transmission Rate) อยู่ที่ 0.01 g/m hr ซึ่งเป็นการ

          - ดูดซึมไอน้ำในอากาศที่น้อยมาก และโครงสร้างของฉนวนชนิดเซลล์ปิด จะช่วยป้องกันไม่ให้ฉนวนเสื่อมสภาพลง

         - ไม่ เป็นพิษ (Non-Toxic) เนื่องจากเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตท่อน้ำ,สายน้ำเกลือ, ของเล่นเด็ก และถุงบรรจุอาหาร ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่สามารถนำมา Recycle ได้

         - ทน ต่อสารเคมี ซึ่งทนต่อกรด, ด่าง และแอลกอฮอล์ จึงเป็นฉนวนที่เหมาะกับโรงงานที่ผลิตสารเคมีต่างๆ โดยป้องกันไอระเหยจากกระบวนการผลิตสารเคมี ไปกระทบกับแผ่นหลังคาไม่ให้เกิดความเสียหาย

         - ป้องกันเสียง โดยป้องกันเสียงจากภายนอก เมื่อเม็ดฝนตกกระทบลงแผ่นหลังคาจะทำให้เกิดเสียงดัง ในการติดฉนวนโดยแนบกับแผ่นหลังคาจะช่วยลดความดังเสียงลง

         - กันความร้อน โดยกันความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน สามารถใช้ได้ดีกับ โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร โกดังสินค้า และที่อยู่อาศัยทั่วไป

         - ช่วยเพิ่มแสงสว่าง ฉนวนความร้อนชนิดเคลือบ Metalized P.E. จะช่วยเพิ่มแสงสว่างในสถานที่ติดตั้งและช่วยสะท้อนความร้อนซึ่งจะมีผลช่วยใน การประหยัดพลังงานและคุ้มค่าต่อการลงทุน  

5. ฉีดโฟมโพลียูริเทน (Polyurethane)


         - สามารถลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 90%ที่ค่าสัมประสิทธิ์การนำำความร้อนที่ต่ำที่สุดรองจากสุญญากาศ

         - คงสภาพการเป็นฉนวนที่อุณหภูมิการใช้งานสูงถึง 100องศาเซลเซียสและต่ำสุดถึง -118 องศาเซลเซียส

         - มีโครงสร้างของเนื้อโฟมแบบ   SEMI-CLOSED CELLS  จึงสามารถดูดซับเสียง ป้องกันเสียงรบกวน เสียงก้อง หรือเสียงซึ่งอาจผ่านทะลุผ่านมาจากภายในสู่ภายนอกหรือจากภายนอกสู่ภายในได้ เป็นอย่างดี

         - ทนต่อกรดและด่าง ไม่นำไฟ เนื่องจากผสมสารกันไฟ มีน้ำหนักเบา ทนทาน สามารถรับแรงกดได้มากกว่า1.4 kPa

         - มี คุณสมบัติในการประสานกับวัสดุอื่นดีเยี่ยม สามารถเกาะติดแน่นผิวหลังคาเหล็ก โดยไม่มีช่องว่างหรือโพรงอากาศ  จึงสามารถกันรั่ว กันซึม และป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดการกลั่นตัว หรือควบแน่นรวมตัวกันเป็นหยดน้ำที่เิกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

         - P.U.FOAM เป็น Versatile Cellular Plastic   จึงมีความคงทนแข็งแรงน้ำหนักเบา   ไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุการใช้งาน  ไม่หลุดร่อน  ไม่มีรอยต่อ  ติดกันเป็นเนื้อเดียวตลอด  สามารถกำหนดความหนาได้ตามต้องการ และปลอดภัยจากมด มอด ปลวกหรือแมลงต่างๆอีกด้วย

        - P.U.FOAM ฉีดติดสำเร็จรูปมากับ Metal Sheet ทำให้ติดตั้งง่ายสะดวกในขั้นตอนเดียว ประหยัดเวลาและค่าติดตั้ง        

หห

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view