พนักงานสอบสวนรู้หรือไม่ว่า การสอบสวนคดีอาญา กำลังเปลี่ยนไป

พนักงานสอบสวนรู้หรือไม่ว่า การสอบสวนคดีอาญา กำลังเปลี่ยนไป

การสอบสวนคดีอาญา จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนไปในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านที่เป็น พนักงานสอบสวน ได้มีโอกาสรับรู้หรือมีการเตรียมตัว ที่จะรับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่

การสอบสวนคดีอาญาในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีระบบและถูกตรวจสอบให้มีการสอบสวน เพื่อให้ถูกต้องตามเจตนารมย์ของกฎหมายอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน มุ่งเข้าสู่ในระบบการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้ที่กระทำผิดหรือไม่ ไม่ใช่ระบบการกล่าวหา

พนักงานสอบสวนไม่สามารถจะรวบรวมพยานหลักฐานอย่างลวกๆ เพียงเพื่อให้ครบประเด็นของการกล่าวหาเท่านั้น และไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะให้มีการจับก่อน แล้วค่อยหาพยานหลักฐานที่หลัง แต่จะเป็นเรื่องที่จะต้องมีพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า มีข้อเท็จจริงเรื่องอะไรเกิดขึ้น เช่นมีข้อเท็จจริงว่ามีการเอาทรัพย์สินไปนั้น อย่างนี้จะเป็นเรื่องของการยืมที่เป็นเรื่องทางแพ่ง หรือ จะเป็นเรื่องยักยอกทรัพย์ ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นลักษณะของการผิดกฎหมายอาญา และมีพยานเอกสาร หลักฐาน หรือพยานบุคคลยืนยันว่าผู้นั้นกระทำผิดหรือไม่ ต้องมีเหตุผลว่า ทำไมมีเอกสารหลักฐาน หรือพยานรู้เห็น และยืนยันว่าผู้นั้นกระทำผิด

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่มีคำถามถึง ลักษณะของการได้มา ซึ่งพยานหลักฐานว่า เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ สามารถรับฟังและเชื่อถือเป็นพยานหลักฐานโดยชอบหรือไม่ ทั้งสิ้น
นับเป็นแนวทางตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญที่เขียนกำหนดขึ้นไว้ และขณะนี้ได้มีร่างแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับประมวลวิธีพิจารณาความ.อาญาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้ เขียนบัญญัติขึ้นไว้เป็นเครื่องชี้นำถึง การเปลี่ยนแปลงการสอบสวน ให้เป็นการสอบสวนในนลักษณะเช่นนี้


มีคำพูดของ อัยการสูงสุด กล่าวต่อสาธารณะชนทางสื่อมวลชน แจ้งเป็นนโยบายในการทำงานของพนักงานอัยการ ว่า ...
“ประชาชนไม่ใช่หนูทดลองที่จะฟ้องไปก่อนแล้วให้ยกฟ้องทีหลังไม่ได้”
ซึ่งจะส่งผลการให้การสอบสวนนั้น ต่อแต่นี้ไปจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้กล่าวหา ฝ่ายผู้ต้องหา หรือพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวข้องกับคู่กรณีเช่นพยานทางนิติวิทยาศาสตร์
โดยใช้กระบวนการในระบบนิติธรรม Due Process ที่เป็นไปตามหลักของกฎหมายบัญญัติไว้ และ มีความโปร่งใส มีกฎหมาย กฎข้อบังคับบัญญัติไว้ และ ตรวจสอบได้ อธิบายให้เกิดการยอมรับได้
ทำให้มีการทำงานที่มากขึ้นและยุ่งยากขึ้น การสั่งคดีของพนักงานสอบสวนนั้นต้องเป็นไปตามเหตุผลของพยานหลักฐานนั้นๆ ไม่ใช่เป็นไปตามนโยบายหรือปัจจัยการชี้นำอื่นๆที่ไม่มีหลักของกฎหมายรองรับ

ทั้งสิ้นตามเหตุผลเหล่านี้ จะชี้ให้เห็นว่าแนวทางของการสอบสวน จะต้องพัฒนาและเปลี่ยนไป เพื่อให้เกิดขึ้นตามหลักการหรือแนวทางเหล่านี้

แต่พบว่าขั้นตอนหรือแนวทางการปฏิบัติงานต่างๆ ของพนักงานสอบสวน ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ยังไม่มีความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นกับการสั่งการของ ตร. ที่มีถึงพนักงานสอบสวน ของ ตร.ทั่วประเทศ
จึงเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวน จะต้องแก้ไขด้วยตนเอง

“ไม่ว่าในอนาคตการสอบสวนคดีอาญา จะเปลี่ยนไปอย่างไรหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่เป็นพนักงานสอบสวน จะต้องได้รับผลกระทบ การรับรู้หรือปรับเปลี่ยนตนเอง ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นส่วนสำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานสอบสวน จะต้องเป็นทั้งผู้มี ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในงาน และเป็นมีคุณธรรม ผลสัมฤทธิ์ในงานอำนวยความยุติธรรม จึงจะเกิดแก่ประชาชน และตนเองในที่สุด”

police.go.th

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view