ร้านให้เช่าเล่นเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียน

ร้านให้เช่าเล่นเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียน
ด่วนมาก ศาลจังหวัดปัตตานี พิพากษา ร้านให้เช่าเล่นเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียน
สืบเนื่องมาจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครอง จังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการจับกุม ร้านอินเทอร์เน็ทและเกมส์ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เมื่อเดือน ธันวาคม 2544 จำนวนหลายร้าน และได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ (ไม่ได้ขอใบอนุญาตให้ฉายฯ จากสำนักงานตำรวจฯ) ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ยอมรับผิดและยินยอมเสียค่าปรับ จำนวน 2,000 บาท ตั้งแต่ขั้นพนักงานสอบสวน เพื่อให้ปัญหาได้จบสิ้นโดยเร็วทั้งๆที่ยังไม่แน่ใจ หรือไม่ทราบว่า ตนเองมีความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่

แต่ยังมีผู้ประกอบการรายหนึ่ง ชื่อ นาย พันธ์เกียรติ จ่างเจริญ ที่เห็นว่าร้านเขาไม่น่าจะผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกุมโดยมิชอบ และไม่มีกฎหมายรองรับซึ่งเป็นความเห็นที่ตรงกันกับความเห็นของ สมาพันธ์ผู้ประกอบการอินเทอร์เนทฯและนักกฎหมายหลายๆท่านที่ได้ตีความกฎหมายในเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้จึงได้ขอต่อสู้คดี ไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อที่จะได้ข้อยุติว่าการเปิดร้านอินเทอร์เน็ทและเกมส์ จะต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนฯ(เจ้าหน้าที่ตำรวจ)หรือไม่เพื่อที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการที่ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่จะบังคับใช้กฎหมายจะได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ต่อไป

บัดนี้ ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2545 โดยพิพากษายกฟ้อง โดยมีรายละเอียดตามคำพิพากษาดังต่อไปนี้


คำพิพากษาศาลจังหวัดปัตตานี หน้า 1

 

(31ทวิ) สำหรับศาลใช้


คำพิพากษา

คดีหมายเลขดำที่ 69/2545
คดีหมายเลขแดงที่ 1711/2545

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลจังหวัดปัตตานี
วันที่ 19 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2545

ความอาญา

 

พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี โจทก์

ระหว่าง

นายพันธ์เกียรติ จ่างเจริญ จำเลย


เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง

จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใดๆ ซึ่งชุดคอมพิวเตอร์อัน

เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการใน

รูปแบบของค่าธรรมเนียมสมาชิก หรือด้วยวิธีการอื่นใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และ

ไม่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฏกระทรวงอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เหตุเกิดที่ตำบล

อาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เจ้าพนักงานยึดจอมอนิเตอร์ขนาด 15 นิ้ว

จำนวน 1 จอ ซีพียู จำนวน 1 เครื่อง คีย์บอร์ด จำนวน 1 อัน และเมาส์จำนวน 1 อัน


/เป็นของกลาง

 

คำพิพากษาศาลปัตตานี หน้าที่ 2

(31ทวิ) สำหรับศาลใช้


- 2 -

 

เป็นของกลาง โจทก์สั่งคืนของกลางเจ้าของแล้ว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติควบคุม

กิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 4,6,34

จำเลยให้การปฏิเสธ

พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้น

ฟังเป็นยุติว่า จำเลยเปิดร้านอินเตอร์เน็ตและบริการให้เช่าเล่นเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์

โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ต่อมาวันที่ 14 ธันวาคม 2544 เจ้าพนักงานตำรวจ

จับกุมจำเลยและยึดจอมอนิเตอร์ขนาด 15 นิ้ว จำนวน 1 จอ ซีพียู จำนวน 1 เครื่อง

คีย์บอร์ด จำนวน 1 อัน และเมาส์ จำนวน 1 อัน เป็นของกลาง ได้ที่ร้านของจำเลย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเล่นเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์ต้องได้รับ

อนุญาต จากนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530

มาตรา 6 หรือไม่ เห็นว่า เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผู้ประกอบกิจการต้องขออนุญาตจากนาย

ทะเบียนนั้น ต้องเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปมาตรา 4 ซึ่งมีบทนิยามคำว่า “ เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ “ ว่า

และวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530

หมายถึง (1) วัสดุที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กหรือสารอื่นใดซึ่งได้บันทึกภาพหรือถ่ายทอดภาพ

/โดยการ

 

 


คำพิพากษาศาลจังหวัดปัตตานี หน้าที่ 3
(31ทวิ) สำหรับศาลใช้


- 3 -

โดยการเปลี่ยนสัญญาณเป็นกระแสไฟฟ้าหรือ (2) วัสดุอื่นใดซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วย

วิธีใดๆ ให้เป็นเรื่อง รูป ข้อความ หรือเกมการเล่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ทาง

นำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่าเกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามความ

แพ่ง มาตรา 4 (1) ส่วนเทปรือวัสดุโทรทัศน์ตามความแพ่ง มาตรา 4 (2) นั้น ตามเอกสาร

หมาย จ.3 ปรากฎว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติ

ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 กำหนดไว้ 5 ประเภท ได้แก่ วีดีโอเกม

เลเซอร์ดีส ดิจิตอลวีดีโอดีส วีดีโอซีดีและซีดีรอม เท่านั้น มิได้กำหนดให้เกมอินเตอร์เน็ตทาง ในเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นได้ความจากคำเบิกความ

คอมพิวเตอร์เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ด้วย

ของนายชวาลิต ชัยวนนท์ พยานจำเลยว่า พยานจบการศึกษาระดับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์

บัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) การใช้อินเตอร์เน็ตต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวรับสัญญาณจาก

สายโทรทัศน์และใช้ฮาร์ทดิสเป็นตัวเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น

สื่อกลางในการดึงข้อมูล การดาวน์โหลดภาพหรือเสียงจากอินเตอร์เน็ตต้องใช้ซอฟแวร์โปรแกรม

คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลเช่นกัน ลำพังซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวไม่สามารถปรากฏ นอกจากนี้ตามเอกสารหมาย ล.1 ยังปรากฏว่ารัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่

ภาพได้


/มท.0209.3


คำพิพากษาศาลจังหวัดปัตตานี หน้าที่ 4
(31ทวิ) สำหรับศาลใช้


- 4 -

มท.0209.3/13836 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2543 ถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่า ซอฟแวร์ โจทก์ก็มิได้นำสืบว่ามอนิเตอร์ ซีพียู คีย์บอร์ด

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เทปหรือวัสดุโทรทัศน์

และเมาส์ของกลางเป็นส่วนหนึ่งของเทปหรือวัสดุโทรทัศน์แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า

เกมอินเตอร์เน็ตทางคอมพิวเตอร์เป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งผู้ประกอบการต้องได้รับอนุญาตจาก

นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 6

จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

พิพากษายกฟ้อง/.


นายคมสัณห์ รางชางกูร (ปรึกษา)

นายกวินทร์ ศิริกรรณ

นางสาวอรพรรณพิลาศ โอวาทตระกูล

วิลาสินี พิมพ์/ทาน

--------------------------------------------------------------------------------
ข้อสังเกตุของสมาพันธผู้ประกอบการ อินเทอร์เนท

1. ข้อความตามคำพิพากษา ในหน้าที่ 2 โจทก์สั่งคืนของกลางให้เจ้าของ ก่อนที่ศาลจะพิพากษาคดี
2. คดีนี้ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งอาจจะมีการอุทธรณ์ หรือ ไม่อุทธรณ์ก็ได้

 

police.go.th

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view