จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544

จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วย จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544


----------------------------------------------

ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ 4/2499 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2499 เรื่อง วางระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ซึ่งในลักษณะ 8 การสอบสวนบทที่ 1 ได้วางระเบียบว่าด้วย หลักทั่วไปว่าด้วยการสอบสวนไว้เป็นทางปฏิบัติแล้ว นั้น

เนื่องจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการสอบสวนคดีอาญาอันเป็นภารกิจหลักในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งการดำเนินการจะต้องมีความโปร่งใส สุจริต รวดเร็ว เสมอภาค และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดเป็นนโยบายเน้นหนักมุ่งปรับปรุงงานอำนวยความยุติธรรมทางอาญา โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ควบคู่ไปกับการรักษาความสงบสุขของสังคม และพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณที่เหมาะสมต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบขององค์กรต้นธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การที่พนักงานสอบสวนจะปฏิบัติหน้าที่ให้สัมฤทธิผลและมีแนวทางการดำรงตนตามครรลองที่ถูกต้องได้ดีเพียงใดนั้น จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในลักษณะของจริยธรรม หรือจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ นอกเหนือจากจริยธรรมของข้าราชการตำรวจโดยทั่วไป ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 77 ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐกำหนดให้มีการรณรงค์และส่งเสริมค่านิยมสร้างสรรค์และจรรยาบรรณวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งหลักการของระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ยุติธรรม โปร่งใสและความมีส่วนร่วม เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นเป็นการสมควรปรับปรุง พัฒนาจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวนให้เป็นมาตรฐานเหมาะสมสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ และมีความชัดเจน บังเกิดผลในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากกระบวนการประชาสังคม จึงสมควรแก้ไขระเบียบในเรื่องนี้เสียใหม่เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติของพนักงานสอบสวนควบคู่ไปกับอุดมคติของตำรวจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ที่ 4/2499 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2499 ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541 ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยกเลิก แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลระเบียบการตำรวจทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคดีและในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับคดีได้ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในลักษณะ 8 การสอบสวน บทที่ 1 ข้อ 208 แห่งประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีเสียทั้งหมด และให้ใช้ความที่แนบท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ 2 ให้เพิ่มความที่แนบท้ายระเบียบนี้ เป็นบทที่ 17 จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน ลักษณะ 8 การสอบสวน แห่งประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี
ข้อ 3 ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2544
(ลงชื่อ) พลตำรวจเอก พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์
(พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์)
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ



ลักษณะ 8
การสอบสวน
บทที่ 17
จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน

-------------------
ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของการสอบสวนคดีอาญา อันเป็นภารกิจหลักในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยมีพนักงานสอบสวนเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งการดำเนินการจะต้องมีความโปร่งใส สุจริต รวดเร็ว เสมอภาคและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง โดยยึดหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับการรักษาความสงบสุขของสังคม และพัฒนาพนักงานสอบสวนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณที่เหมาะสมต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรต้นธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่พนักงานสอบสวนจะปฏิบัติหน้าที่ให้สัมฤทธิผล จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวนเป็นกรอบและแนวทางในการประพฤติปฏิบัติควบคู่ไปกับ "อุดมคติของตำรวจ" ที่ได้กำหนดไว้แล้วในประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 16 ตามผนวกแนบท้าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544"
ข้อ 2 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 3 จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน ที่ต้องประพฤติปฏิบัติควบคู่ไปกับอุดมคติของตำรวจตามผนวกแนบท้ายระเบียบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและสังคมส่วนรวม มีดังนี้
(1) พนักงานสอบสวนต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญ
(2) พนักงานสอบสวนต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นในศีลธรรม
(3) พนักงานสอบสวนต้องอำนวยความยุติธรรม ด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง โปร่งใส และ เป็นธรรม โดยปราศจากอคติ
(4) พนักงานสอบสวนต้องกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
(5) พนักงานอสบสวนพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เสียสละ และอดทน เพื่อ ประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม
(6) พนักงานสอบสวนพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ด้วยความสุภาพอ่อนโยนมีไมตรี และเต็มใจ ให้บริการประชาชน
(7) พนักงานสอบสวนพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
(8) พนักงานสอบสวบพึงสำนึก และยึดมั่นในวิชาชีพการสอบสวน มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ ศรีและวิชาชีพของตนเอง
ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนทุกระดับชั้น ทำความเข้าใจและสอดส่องควบคุม ดูแล ให้พนักงานสอบสวนยึดถือประพฤติปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวนอย่างแท้จริง เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของตน และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่สังคม หากมีการละเลยหรือทำให้เห็นว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดฝ่าฝืน ก็ให้ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาไปตามระเบียบแบบแผนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหากเข้าข่ายผิดวินัยก็ให้ดำเนินการในเรื่องวินัยด้วย



(ผนวกแนบท้ายระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2544)
อุดมคติของตำรวจ
เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปรานีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล บำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
*********************


จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544

ข้อกำหนด
ข้อ 1 พนักงานสอบสวนต้องเคารพในสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

>แนวทางปฏิบัติ
- ต้องศึกษา ทำความเข้าใจกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ถึงสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนอย่างถ่องแท้
- ต้องแจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- ปลูกจิตสำนักของพนักงานสอบสวนให้ตระหนักในหน้าที่ ต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยผู้บังคับบัญชาให้การอบรมเป็นประจำ
- ให้พนักงานสอบสวนมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ

ข้อกำหนด
ข้อ 2 พนักงานสอบสวนต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นในศีลธรรม

แนวทางปฏิบัติ
- การปฏิบัติหน้าที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต ตรงไปตรงมา ไม่มุ่งหวังหรือแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้จากการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะด้วยการเรียกร้อง แสดงท่าทีหรือกิริยาอาการอื่นใด และสามารถตรวจสอบได้
- ไม่พยายามหลีกเลี่ยงหรือแสวงหาช่องว่างของกฎหมายเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
- มีจิตสำนักในการปฏิบัติงานในกรอบของศีลธรรมตามหลักศาสนา

ข้อกำหนด
ข้อ 3 พนักงานสอบสวนต้องอำนวยความยุติธรรม ด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง โปร่งใส และเป็นธรรมโดยปราศจากอคติ

>แนวทางปฏิบัติ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ตามลำดับขั้นตอนภายในระยะเวลาที่ ตร.กำหนด
- ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเต็มใจ

ข้อกำหนด
ข้อ 4 พนักงานสอบสวนต้องกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

แนวทางปฏิบัติ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม และชอบธรรม
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ
- ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ

ข้อกำหนด
ข้อ 5 พนักงานสอบสวนพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เสียสละ และอดทน เพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม

แนวทางปฏิบัติ
- ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และอุทิศตนทุ่มเทสติปัญญา ความรู้ความคิดที่มีอยู่ให้กับงานอย่างเต็มที่
- ปฏิบัติงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนักและหลักการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความ ยุติธรรม
- ปลูกฝังจิตสำนึกพนักงานสอบสวนในเรื่องการเสียสละ อดทนและความรับผิดชอบในหน้าที่

แนวทางปฏิบัติ
- พนักงานสอบปฏิบัติหน้าที่และให้บริการประชาชนด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อมีน้ำใจและใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ อ่อนโยน โดยมีจิตสำนึกการให้บริการประชาชน
- เต็มใจแนะนำ ช่วยเหลือในการบริการประชาชนเสมือนญาติ

ข้อกำหนด
ข้อ 7 พนักงานสอบสวนพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา

แนวทางปฏิบัติ
- ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาตนให้มีความรู้ ความชำนาญทันต่อเหตุการณ์
- ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจต่อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติและนำไปยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
- มีความริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ข้อกำหนด
ข้อ 8 พนักงานสอบสวนพึงสำนึกและยึดมั่นในวิชาชีพการสอบสวน มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและวิชาชีพของตนเอง

แนวทางปฏิบัติ
- ดำรงตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ด้วยการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีหลักการ มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน
- ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพการสอบสวนด้วยความมั่นคงและความภาคภูมิใจในเกียรติคุณและศักดิ์ศรีของความเป็นพนักงานสอบสวน
- ปฏิบัติงานด้วยจิตวิญญาณของพนักงานสอบสวนให้เป็นที่เชื้อถือและศรัทธาของประชาชน

police.go.th

ข้อกำหนด
ข้อ 6 พนักงานสอบสวนพึงมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ด้วยความสุภาพอ่อนโยน มีไมตรีจิต และเต็มใจให้บริการประชาชน

ความคิดเห็น

  1. 1
    การณ์
    การณ์ 21/01/2009 17:17
    ก็ดีมีข้อบังคับจะได้ไม่มีตำรวจที่ไม่ดี
  2. 2
    1
    1 1@hotmail.com 05/06/2009 14:52
    {icone240} {icone269} {icone269} {icone269} {icone269} {icone269} {icone240} {icone240}
  3. 3
    30/05/2010 16:26

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view