โครงสร้างทางกฎหมาย สหรัฐอเมริกา ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์

โครงสร้างทางกฎหมาย สหรัฐอเมริกา ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์

โครงสร้างทางกฎหมาย สหรัฐอเมริกา ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์

บรรดากฎหมายต่างๆของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ การสืบสวนและดำเนินคดีกับบุคคล ซึ่งได้กระทำ การก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่น่าสนใจมีดังนี้

Title 18, USC 1029
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1029, Fraud and Related Activity in Connection with Access Devices ว่าด้วยการฉ้อฉลและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลไกการเข้าถึง [ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต]

- กฎหมายนี้ครอบคลุม การดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งลักลอบค้า รหัสหรือ หมายเลขบัตรเครดิต ทางอินเทอร์เน็ต
- กฎหมายนี้ครอบคลุม การดำเนินคดีบุคคลซึ่งใช้ซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ในการผลิต หรือแพร่กระจาย รหัสหรือหมายเลขบัตรเครดิต
Title 18, USC 1029 Penalties (บทลงโทษ)

Title 18, USC 1030
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1030, Fraud and Related Activity in Connection with Computers ว่าด้วยการฉ้อฉลและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์
- กฎหมายนี้ใช้ดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจบุกเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในการปกป้องของรัฐบาลสหรัฐฯ U.S. protected computer
- คอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในการปกป้องของรัฐบาลสหรัฐฯ หมายถึงคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล รวมทั้งคอมพิวเตอร์ซึ่งได้ถูกระบุไว้โดยรัฐบาลว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ระหว่างมลรัฐ
- จะต้องเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่เกินกว่าจำนวนเงิน $5,000 หรือ ก่อให้เกิดผลร้ายต่อความปลอดภัยของมหาชน/ความมั่นคงของชาติ
- อีกทั้งกฎหมายนี้จะครอบคลุมการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจปล่อยไวรัส หรือ หนอน worms เข้าไปในคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อก่อให้เกิดความเสียหาย
Title 18, USC 1030 Penalties (บทลงโทษ)

Title 18, USC 1362
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1362, Communications Lines, Stations, or Systems. ว่าด้วยสายเคเบิ้ล, สถานี หรือ ระบบในการสื่อสาร
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่ง จงใจสร้างผลร้าย หรือทำลายระบบการสื่อสารคมนาคม
- อีกทั้งกฎหมายนี้อาจใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่ง วางแผนที่จะดำเนินการละเมิดกฎหมายดังกล่าวนี้
Title 18, USC 1362 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 1362 อาจถูกลงโทษจำคุก 10 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก

Title 18, USC 2511
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18 USC 2511, Interception and Disclosure of Wire, Oral, or Electronic Communications. ว่าด้วยการดักเอาและเปิดเผยการสื่อสารโดยทางสาย, ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางเสียง หรือข้อความ แบบอิเล็กทรอนิกส์
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจดักจับการสื่อสารโดยทางสาย ทั้งที่เป็นการสื่อสารแบบเสียงและแบบอิเล็กทรอนิกส์
- อีกทั้งกฎหมายนี้ สามารถใช้ดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งใช้เครื่องมือใดๆเพื่อดักเอาการสื่อสาร
Title 18, USC 2511 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 2511 อาจถูกลงโทษจำคุก 5 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก

Title 18, USC 2701
- กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 2701, Unlawful Access to Stored Communication. ว่าด้วยการเข้าถึง โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลักลอบเอาการสื่อสารที่ได้ถูกเก็บไว้
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจเข้าไปในที่ใดซึ่งเป็น ศูนย์ให้บริการและเก็บการสื่อสาร โดยไม่ได้รับอนุญาต
Title 18, USC 2701 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 2701 อาจถูกลงโทษจำคุก 2 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก

Title 18, USC 2702
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 2702, Disclosure of Contents ว่าด้วยการเปิดเผยเนื้อหา
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจ เปิดเผยหรือแฉการสื่อสารหรือข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้มีการเก็บไว้ ณ ที่ใด
- กฎหมายนี้เป็นการให้อำนาจในการดำเนินคดีแก่บุคคลซึ่ง มอบข้อมูลให้แก่ผู้รับคนใดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีข้อมูลนั้นไว้ในครอบครอง

Patriot Act รัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
- รัฐบัญญัตินี้ ได้ผ่านออกมา โดยนัยหนึ่งเป็นการตอบโต้การโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย ถล่มอาคารเวิลด์เทรด ในกรุงนิวยอร์ค และอาคารเพนตากอน ในกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001

Patriot Act รัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
- รัฐบัญญัตินี้ เป็นการเสริมกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยการขยายและเพิ่มโทษสำหรับอาชญากรรมซึ่งกระทำโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
- รัฐบัญญัติฉบับนี้ มีบทเฉพาะซึ่งว่าด้วยการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์
- รัฐบาลสหรัฐฯจะต้องขยายขีดความสามารถทางด้านการพิสูจน์หลักฐานคดีแบบไซเบอร์

Patriot Act บัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
รัฐบัญญัติปี 2002 ของสหรัฐฯ ว่าด้วยความรักชาติ United States Patriot Act of 2002.

รัฐบัญญัตินี้ ให้อำนาจในการที่จะ :
- ดักฟังการสื่อสารในรูปแบบเสียงทางอินเทอร์เน็ต
- ขยายคำจำกัดความของคำว่า คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความคุ้มครอง “Protected Computer” ให้รวมถึงคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศด้วย
- เพื่อชี้ให้เห็นถึงการขึ้นต่อกันและกัน ในบรรดาคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โครงสร้างทางกฎหมายระหว่างประเทศ
- ปัญหาสำคัญในการสืบสวนอาชญากรรมและการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์ คือการขาดโครงสร้างทางกฎหมายที่มิได้มีการกำหนดไว้รองรับ
- ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล และ การขาดกฎหมายที่จะครอบคลุมเรื่องนี้ในบางประเทศ ทำให้เป็นงานยากอย่างยิ่งในการดำเนินงานสืบสวนข้ามพรมแดน
- อาชญากรและผู้ก่อการร้ายประเภทไซเบอร์ อาศัยความได้เปรียบจากช่องว่างนี้
- คนร้ายสามารถ“โดดข้าม”จากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง ในหลายประเทศซึ่งไม่มีกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือรับมือกับอาชญากรรมและการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์

สรุป
- สหรัฐฯได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตว่า ในการที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการก่อการร้าย โดยทางไซเบอร์ จะต้องสร้างกฎหมายซึ่ง พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งมีเข้ามาในวงการนี้อยู่เสมออย่างต่อเนื่อง
- การต่อต้านการก่อการร้าย โดยทางไซเบอร์ ที่จะมีประสิทธิผล จะต้องมีโครงสร้างทางกฎหมาย ซึ่งจะให้อำนาจและเครื่องมือแก่พนักงานสืบสวนสอบสวน และอัยการ สามารถอาศัยอำนาจทางกฎหมายที่จะใช้ในการสู้การก่อการร้าย
- โครงสร้างทางกฎหมาย จะเปิดโอกาสให้บรรดาประเทศต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและกัน ได้อย่างรวดเร็วในเรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

police.go.th

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view