ทุกข์ของพนักงานขายคอมพิวเตอร์ ; อุทาหรณ์จากคดีไมโครซอฟท์ - เอเทค

ทุกข์ของพนักงานขายคอมพิวเตอร์ ; อุทาหรณ์จากคดีไมโครซอฟท์ - เอเทค
คดีระหว่างไมโครซอฟท์กับเอเทคทั้ง 2 คดีนั้น พนักงานขายคอมพิวเตอร์ต่างก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้งสองคดีครับ แล้วก็หนีไปตามระเบียบทั้งสองคดี ไม่ได้ตัวมาดำเนินคดี ก็เลยไม่รู้ว่าศาลท่านจะลงโทษยังไงครับหากได้ตัวมาดำเนินคดี คดีแรกที่ศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่รู้ว่าพนักงานขายจะได้อานิสงค์ด้วยหรือเปล่า ส่วนคดีที่ 2 ที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 กับที่ 2 นั้น ถ้าพูดกันตามหลักกฎหมายอาญาแล้ว จำเลยที่ 3 ก็ไม่น่าจะรอดครับหากได้ตัวมาดำเนินคดีเพราะถือว่าเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันครับ ตรงนี้เองซึ่งผมเห็นว่าเป็นทุกข์ของพนักงานขายคอมพิวเตอร์ครับ

ผมว่าพนักงานขายคงไม่มีใครอยากทำผิดกฎหมายหรอกครับ แต่ทุกคนก็อยากจะขายของให้ได้มากๆ เพื่อให้บริษัทได้กำไรครับ ถ้าบริษัทขายคอมฯได้มากก็หมายความถึงความอยู่รอดของพนักงานครับ คนที่ไปซื้อคอมฯจริงๆ ก็ต้องยอมรับครับว่าเขาก็อยากได้โปรแกรมให้ครบๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซื้อมาใช้ตามบ้าน เขาก็ไม่ mind เรื่องลิขสิทธิ์หรอกครับ ถ้าไม่แถมโปรแกรมให้ คนซื้อก็ไม่อยากซื้อเท่าไรหรอกครับ ดังนั้น ถ้าพนักงานขายไม่เสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยก็อาจจะขายสู้ยี่ห้ออื่น ๆ ไม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นการขายให้กับลูกค้าทั่วไปเขาก็คงไม่มาโวยวายเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์หรอกครับ แต่ถ้าแจ็คพอตแตกไปขายให้กับสายของบริษัทซอฟท์แวร์ก็จะเป็นปัญหาอย่างที่เห็นนี้ล่ะครับ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่แน่ใจจริงๆ ครับว่าไอ้การแถมโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์นี้เป็นเทคนิคการขายของพนักงานขายเอง (โดยบริษัทไม่รู้) หรือเป็นข้อบังคับที่บริษัทกำหนดให้พนักงานทำ (แต่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรว่าห้ามทำ)ครับ ถ้าเป็นอย่างหลังก็ควรจะต้องมีกลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองพนักงานขายตัวเล็กๆ ไม่ให้ต้องถูกฟ้องร้องเป็นคดีอาญาหรือทางแพ่งนะครับ

อ้อ อีกอย่างหนึ่งที่อยากฝากท่านผู้อ่านที่เป็นพนักงานขายคอมฯ ในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายมาคุ้มครองพวกท่านนะครับว่า ถ้าเห็นฝรั่งเดินเข้ามาในร้านให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนนะครับว่าเป็นสายของบริษัทซอฟท์แวร์ครับ เวลาจะพูดอะไรก็ระวังเขาจะอัดเทปเอาไว้นะครับ

โดย Lawyerthai.com

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view